Subscribe:

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การจัดการกับโปรเจ็กต์


vbMsgBoxHelpButton
16384
แสดงปุ่ม Help
vbMsgBoxSetForeground
65536
กำหนดให้ MsfgBox ไม่ได้เป็น Default Window
vbMsgBoxRight
524288
กำหนดให้ข้อความชิดขวา
vbMsgBoxRtlReading
1048576
กำหนดให้ข้อความปรากฏจากขวาไปซ้ายเพื่อการอ่านใน Hebrew และ Arabic

การออกแบบหน้าจอ

การใช้ Control
1. คลิกที่ Control ที่ต้องการ ใน Toolbox
2. เลื่อนเมาส์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการวาด Control นั้น แล้วคลิกเมาส์ค้างไว้แล้วก็ลากเมาส์ในรูปแบบทแยงมุม ตามต้องการ แล้วก็เลิกคลิกค้าง หลังจากนั้นก็จะปรากฏรูปของ Object ที่เราสร้างขึ้น
ตัวอย่าง  ในตัวอย่างนี้เราจะมาลองวาด Control Command Button บน Form เพื่อใช้ติดต่อกับผู้ใช้
1.  เมื่อเปิด File ใหม่ขึ้นมาแล้วเราจะพบกับ Form เปล่า ๆ
2.    แล้วทำการ Click ที่ Object Command Button ต่อจากนั้นเราก็นำมาวาดลงบน Form 
3.    เราจะได้ Command Button ที่มีขนาด 1815 x 495 
การกำหนด Property ให้กับ Object
         การกำหนด Property นั้น จะช่วยให้ Object ต่าง ๆ ที่เรานำมาใช้เป็นไปตามเงื่อนไขหรือวัตถุประสงค์ตามที่เราต้องการ โดยคุณสมบัติต่าง ๆ เหล่านี้ จะแตกต่างกันไปตามชนิดของแต่ละ Object นั้น ๆ
ซึ่งเราสามารถที่จะนำมารวมไว้ในโปรแกรมเดียวกันตามที่เราต้องการได้ 
    การกำหนด Property ให้กับ Object ทำได้ 2 วิธี คือ
1.    Click ที่ Object หรือ Form ที่ต้องการกำหนด Property จะปรากฎจุดสี่เหลี่ยมล้อมรอบ Object นั้น ยกเว้น Form ซึ่งจะมองไม่เห็นจุดดังกล่าว Click ปุ่มขวาจะปรากฎเมนูขึ้นบนจอภาพ ให้เลือกเมนู Property
2.    เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่ Object หรือ Form จนมีจุดล้อมรอบ แล้วให้กด F4 จะปรากฎจอภาพสำหรับกำหนด Property ของ Form     
 
Control และ Property  
Control มาตรฐานที่ปรากฎอยู่ Toolbar จะมีหน้าที่แตกต่างกันไป ซึ่งแต่ละ Control จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน แต่ก็ยังมี คุณสมบัติที่เหมือนกันอยู่ ซึ่งได้แก่ Property "Caption" ของ Object "Label" และ "Command Button" ต่างก็มีหน้าที่กำหนดข้อความบน Object นั้น ๆ
 lbl_ico  Label    เป็น Control ที่ใช้สำหรับเขียนข้อความบนจอภาพ ซึ่งมี Property ต่าง ๆ ดังนี้
Property
ความหมาย
Caption
ใช้กำหนดข้อความให้แสดงบน Object
Font
ใช้กำหนดรูปแบบของตัวอักษรของ Object
Fore Color
ใช้กำหนดสีของตัวอักษร
Alignment
ใช้กำหนดรูปแบบในการแสดงผลของข้อความที่กำหนดใน Property "Caption"
Back Color
ใช้กำหนด ฉากหลัง
  txt_ico TextBox เป็น Control ที่ใช้สำหรับรับข้อมูลจาก Keyboard ซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้

Property
หน้าที่การทำงาน
Text
ใช้สำหรับรับข้อมูลทางแป้น Keyboard  และทำการแสดงผลออกทางจอภาพ
Width
ใช้กำหนดความยาวของ Object
Height
ใช้กำหนดความสูงของ Object
Left
ใช้กำหนดตำแหน่งเริ่มต้นของ Object ในแกน X
Top
ใช้กำหนดตำแหน่งเริ่มต้นของ Object ในแกน Y
MaxLength
ใช้กำหนดจำนวนคำตัวอักษรสูงสุดที่จะรับได้ใน Object
MultiLine
เป็นข้อมูลชนิดตรรกะ ซึ่งจะมีค่าเป็น จริง (True) หรือ เท็จ (False)
cmd_ico  Command Button  เป็น Control ที่ใช้สำหรับรับเงื่อนไขหรือว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นภายใต้การทำงานของปุ่มนี้ โดยจะมีคุณสมบัติต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

Property
หน้าที่การทำงาน
Enable
ใช้กำหนด Object นั้น ๆ ให้ทำงานตามคำสั่งที่ได้กำหนดไว้ เช่น True คือ ให้ทำงาน ถ้าเป็น False ก็ไม่ทำงาน
Default
การกำหนดปุ่มที่เราได้สร้างขึ้นมาเป็นปุ่มแรกในการเลือกการทำงาน
ToolTipText
ใช้แสดงข้อความอธิบายเมื่อเม้าส์ไปชี้ในบริเวณที่กำหนดไว้
Picture
ใช้แสดงรูปภาพบนปุ่ม
Style
ใช้กำหนดรูปแบบของปุ่ม ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ
1. Standard คือ ปุ่มที่มีเฉพาะข้อความเท่านั้น
2. Graphical คือ ปุ่มที่สามารถเพิ่มเติมรูปภาพไว้บนปุ่มได้ โดยจะทำงานคู่กับ Property "Picture"
TabIndex
ใช้กำหนดลำดับการทำงานของ Object

นำเสนอโครงงาน

โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์ เป็นกิจกรรมอิสระที่ผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาตามความสนใจ โดยใช้ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์ของผู้เรียนด้านคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ในการแก้ปัญหาต่างๆ ผู้เรียนจะต้องวางแผนดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกิจกรรมที่จัดว่าเป็นโครงงานควรมีองค์ประกอบหลัก ดังนี้
     - เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องซอฟต์แวร์และเครื่องคอมพิวเตอร์
     - ผู้เรียนเป็นริเริ่มและเลือกเรื่องที่จะศึกษา ค้นคว้า พัฒนา
     - เก็บรวบรวมหรือประดิษฐ์คิดค้นด้วยตนเองตามความสนใจและระดับความรู้ความสามารถ
     - ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา สรุป และเสนอผลการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีผู้สอนเป็นที่ปรึกษา
องค์ประกอบเค้าโครงของโครงงานคอมพิวเตอร์
1. ชื่อโครงงาน ถ้าเป็นโครงงานเกี่ยวกับเว็บไซต์ ใช้ชื่อโครงงานว่า การพัฒนาเว็บไซต์ เรื่อง
ข้างต้น ได้แก่ โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา โครงงานพัฒนาเครื่องมือ โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน และโครงงานพัฒนาเกม
2. ชื่อ สกุล ผู้ทำโครงงาน
3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
4. ระยะเวลาดำเนินงาน ให้ระบุเวลาเป็นจำนวนวัน เป็นต้น
5. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ อธิบายว่าเหตุใดจึงเลือกทำโครงงานนี้ โครงงานนี้มีความสำคัญอย่างไร เรื่องที่ทำเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นศึกษาค้นคว้ามาก่อนบ้างแล้ว ถ้ามีผู้อื่นศึกษามาก่อนแล้วผลที่ได้เป็นอย่างไร และเรื่องที่ทำนี้จะขยายเพิ่มเติม ปรับปรุงจากเรื่องที่ผู้อื่นทำไว้อย่างไร หรือเป็นการทำซ้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ
6. วัตถุประสงค์ หลักการเขียนต้องเขียนเป็นข้อๆ และสัมพันธ์มาจากชื่อเรื่องของโครงงาน
7. หลักการและทฤษฎี อธิบายถึงหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน เช่น โครงงานพัฒนาเว็บไซต์ ควรจะกล่าวถึงองค์ประกอบในการออกแบบเว็บไซต์และข้อผิดพลาดในการสร้างเว็บไซ ต์ เป็นต้น
8. วิธีดำเนินงาน
- อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ระบุวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้มีอะไรบ้าง วัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นอยู่ที่ใด และมีชิ้นใดบ้างที่ต้องจัดซื้อหรือหยิบยกมาจากที่ต่างๆ
- กำหนดคุณลักษณะของผลงาน และเทคนิคที่ใช้ในการพัฒนา
- แนวทางการศึกษาค้นคว้าและพัฒนา อธิบายถึงกระบวนการแก้ปัญหาที่ออกแบบไว้ และการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ การพัฒนา การทดสอบ และการนำเสนอผลงาน
- งบประมาณที่ใช้
10. แผนปฏิบัติงาน ใช้ระบุว่า มีแผนหรือขั้นตอนทำอะไรบ้าง แต่ละขั้นตอนใช้เวลากี่วัน เป็นต้น
11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
12. เอกสารอ้างอิง
 ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
3. จัดทำเค้าโครงของโครงงาน เมื่อผู้เรียนได้ศึกษาเอกสารอ้างอิงต่างๆ และเลือกเรื่องที่จะทำโครงงานคอมพิวเตอร์ รวมทั้งวางแผนการทำโครงงานทุกขั้นตอน โดยปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว จึงเขียนเค้าโครงของโครงงานเพื่อใช้เป็นกรอบแนวคิดและแนวทาง ตลอดจนข้อตกลงต่างๆ ในการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ระหว่างผู้เรียน อาจารย์ และผู้เกี่ยวข้อง นอกจากจะต้องใช้หลักการทางวิชาการแล้ว ยังจำเป็นต้องมีข้อตกลงและเงื่อนไขต่างๆ ด้วย เช่น การขออนุญาตใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ การจัดหาลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ เครื่องมือและตัวแปลภาษาโปรแกรม เป็นต้น เพื่อช่วยให้การทำโครงงานดำเนินไปอย่างราบรื่น
4. การลงมือทำโครงงาน
5. การเขียนรายงาน
6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน

ฟังก์ชัน

ฟังก์ชันสำหรับเขียน Program
ฟังก์ชัน    หมายถึง    ชุดคำสั่ง (Routine) ที่ใช้ช่วยในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการส่งค่าฟังก์ชันต้องการไปให้เพื่อให้ฟังก์ชันคืนค่ากลับมา
คำสั่ง หมายถึงคำสั่งโดยทั่วไปที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เช่น กลุ่ฟมคำสั่ง Branching กลุ่มคำสั่ง Iteration เป็นต้น
ฟังก์ชันที่เกี่ยวกับ String

ชื่อ
ประเภท
รูปแบบของคำสั่ง
หน้าที่ในการใช้งาน
Asc
ฟังก์ชัน
Asc(String)
แสดงค่ารหัส ASCIi ของอักษรที่ระบุใน String
Chr$/Chr
ฟังก์ชัน
Chr(charcode)
แปลงค่ารหัส ASCII ที่ระบุใน Charcode ไปเป็นตัวอักษร
Format$/Format
ฟังก์ชัน
Format(expression.format)
กำหนดรูปแบบของ expression ตามรูปแบบที่กำหนดใน format
InStr
ฟังก์ชัน
InStr([start, ]string1,string2[, compare])
หาตำแหน่งของคำ string2 ใน string1 โดยเริ่มจากตำแหน่งที่ start ตามแบบในการเปรียบเทียบที่กำหนดใน compare
LCase$/LCase
ฟังก์ชัน
LCase(string)
แปลงตัวอักษรใน string ให้อยู่ในรูปตัวอักษรตัวเล็ก
Left$/Left
ฟังก์ชัน
Left(string,length)
ตัดคำของ string จากซ้ายไปขวาตามจำนวนที่ระบุใน length
Len
ฟังก์ชัน
Len(string)
แสดงความยาวของคำใน String
LSet

Lset stringvar =string
จัดคำใน String ให้ชิดซ้ายแล้วกำหนดให้กับ Stringvar
Ltrin$/Ltrim
 ฟังก์ชัน
Ltrim(string)
ตัดช่องว่างใน string จากซ้ายไปขวา
Mid$/Mid
 ฟังก์ชัน
Mid(string,start[,length])
ตัดคำใน String จากตำแหน่ง Start ตามจำนวนที่ระบุใน Length
Right$/Right
 ฟังก์ชัน
Right(string,length)
ตัดคำใน String จากขวาไปซ้ายตามตำแหน่งที่ระบุใน Length
Rset
 คำสั่ง
Rset stringvar = string
จัดคำใน String ให้ชิดขวาแล้วกำหนดให้กับ Stringvar
Rtrim$/Rtrim
ฟังก์ชัน 
Rtrim(string)
ตัดช่องว่างของคำใน String จากขวาไปซ้าย
Space$/Space
 ฟังก์ชัน
Space(number)
แสดงช่องว่างตามจำนวนที่กำหนดใน number
Str$/Str
 ฟังก์ชัน
Str(number)
แปลงค่าของตัวเลขใน number ให้เป็น String
String
 ฟังก์ชัน
String(number,character)
แสดงตัวอักษรใน character ซ้ำตามจำนวนที่กำหนดใน number
Trim$/Trim
 ฟังก์ชัน
Trim(string)
ตัดช่องว่างออกจากคำใน String
UCase$/Ucase
 ฟังก์ชัน
UCase(string)
แปลงตัวอักษรใน String ให้อยู่ในรูปแบบตัวอักษรตัวใหญ่
ฟังก์ชันที่เกี่ยวกับตัวเลข

ชื่อ
ประเภท
รูปแบบคำสั่ง
หน้าที่
Abs
 ฟังก์ชัน
Abs(number)
แสดงคำว่า Absolute ของเลขใน number
Atn
 ฟังก์ชัน
Atn(number)
แสดงค่ามุมของตัวเลขใน number
Cos
 ฟังก์ชัน
Cos(number)
แสดงค่า Cosine ของตัวเลขใน number
Exp
 ฟังก์ชัน
Exp(number)
แสดงเลขฐาน E ของตัวเลขใน number
Fix
 ฟังก์ชัน
Fix(number)
ตัดเศษและแปลงตัวเลขใน number ให้อยู่ในรูปแบบ Integer
Hex$/Hex
 ฟังก์ชัน
Hex(number)
แปลงค่าของตัวเลขใน number ให้อยู่ในรูปแบบเลขฐาน 16 
Int
 ฟังก์ชัน
Int(number)
ปัดเศษของตัวเลขใน number ลงเพื่อให้อยู่ใน Integer
Log
 ฟังก์ชัน
Log(number)
แสดงค่า Logarithm ของตัวเลขใน number
Oct$/Oct
 ฟังก์ชัน
Oct(number)
แปลงค่าตัวเลขใน number ให้อยู่ในรูปฐาน
Randomize
 คำสั่ง
Randomize(number)
หา Randow Number ของตัวเลขใน number
Rnd
 ฟังก์ชัน
Rnd(number)
หา Randow Number ของตัวเลขใน number ซึ่งมีค่าระหว่าง 0 และ1
Sgn
 ฟังก์ชัน
Sgn(number)
แสดงเครื่องหมายของตัวเลขใน number
Sin
 ฟังก์ชัน
Sin(number)
แสดงค่า Sine ของมุมที่กำหนดใน number
Sqr
 ฟังก์ชัน
Sqr(number)
แสดงค่ารากของตัวเลขที่กำหนดใน number
Tan
 ฟังก์ชัน
Tan(number)
แสดงค่า Tangent ของมุมที่กำหนดใน number
Val
 ฟังก์ชัน
Val(number)
แปลงค่าของ String ให้อยู่ในรูปของตัวเลข
คำสั่งและฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับ Date และ Time

ชื่อ
ประเภท
หน้าที่การใช้งาน
 CVDate / CDate
 ฟังก์ชัน
เปลี่ยนวันที่จาก String หรือตัวเลขให้เป็น Date
Date / Date$
 ฟังก์ชัน
คืนค่าของวันที่ปัจจุบัน
DateSerial
 ฟังก์ชัน
แสดงวันที่ในรูปแบบ Integer
DateValue
 ฟังก์ชัน
แสดงวันที่ในรูปแบบ String
Day
 ฟังก์ชัน
แสดงวันที่ (1-3)
Hour
 ฟังก์ชัน
แสดงชั่วโมง (0-23)
Minute
 ฟังก์ชัน
แสดงนาที (0-59)
Month
 ฟังก์ชัน
แสดงเดือน (1-12)
Now
 ฟังก์ชัน
แสดงวันที่ปัจจุบัน
Second
 ฟังก์ชัน
แสดงวินาที (0-59)
Time / Time$
 ฟังก์ชัน
แสดงเวลาปัจจุบัน
TimeSerial
 ฟังก์ชัน
แสดงวันที่ในรูปแบบของตัวเลข
TimeValue
 ฟังก์ชัน
แปลงเวลาจาก String ไปเป็น Date
WeekDay
 ฟังก์ชัน
แสดงวันในสัปดาห์ (1-7)
Year
 ฟังก์ชัน
แสดงปี (100-9999)
คำสั่ง MsgBox

ชื่อ
ค่าตัวเลข
หน้าที่ในการใช้งาน
vbOKOnly
0
สำหรับแสดงปุ่ม OK
vbOKCancel
1
สำหรับแสดงปุ่ม OK และ Cancel
vbAbortRetryIgnore
2
สำหรับแสดงปุ่ม Abort, Retry และ Ignore
vbYesNoCancel
3
สำหรับแสดงปุ่ม Yes, No และ Cancel
VBYesNO
4
สำหรับแสดงปุ่ม Yes และ No
vbRetryCancel
5
สำหรับแสดงปุ่ม Retry และ Cancel
vbCritial
16
แสดง Icon "Critical Message"
vbQuestion
32
แสดง Icon "Warning Query"
vbExclamation
48
แสดง Icon "Warning Message"
vbInformation
64
แสดง Icon "Information Message"
vbDefaultButton1
0
กำหนดให้ปุ่มแรกเป็นปุ่ม Default
vbDefaultButton2
256
กำหนดให้ปุ่มที่สองเป็นปุ่ม Default
vbDefaultButton3
512
กำหนดให้ปุ่มที่สามเป็นปุ่ม Default
vbDefaultButton4
768
กำหนดให้ปุ่มที่สี่เป็นปุ่ม Default
vbApplicationModal
0
กำหนดให้ MsgBox อยู่ในรูป Application Modal ซึ่งเป็น Dialog Box ที่ต้องกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
vbSystemModal
4096
กำหนดให้ Msgbox อยู่ในรูปแบบ System modal ซึ่งเป็น Dialog Box ที่สามารถทำงานไปพร้อมกับ Windows อื่นได้
vbMsgBoxHelpButton
16384
แสดงปุ่ม Help
vbMsgBoxSetForeground
65536
กำหนดให้ MsfgBox ไม่ได้เป็น Default Window
vbMsgBoxRight
524288
กำหนดให้ข้อความชิดขวา
vbMsgBoxRtlReading
1048576
กำหนดให้ข้อความปรากฏจากขวาไปซ้ายเพื่อการอ่านใน Hebrew และ Arabic